วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิภาคนี้มีลักษณะโดดเด่นกว่าส่วนอื่นของประเทศประกอบด้วยจังหวัด 19 จังหวัดคือ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี เลย ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวลำภู และ อำนาจเจริญ นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่และประชากรมากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ มากที่สุด เช่น ปัญหาความแห้งแล้ง ความยากจน ประชากรอพยพย้ายถิ่น ประชากรในภาคนี้พูดภาษาไทยสำเนียงอีสาน แตกต่างไปจากสำเนียงท้องถิ่นในภาคเหนือแต่ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูด สำเนียงไทยภาคกลางได้ ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชายไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันประชากร วัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่พบเห็นในที่อื่น ๆ ของประเทศ
อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย ภาคนี้พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อย เป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน
เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

สำนวนไทย


บ้างลอบเล่นเพลงยาวเมื่อคราวขัด ฝีปากจัดตอบต่อข้อนุสนธิ์ ที่ไม่สู้รู้กลอนยังร้อนรน เที่ยววานคนแต่งให้พอได้การ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ระเบียบแถวลูกเสือ



1. ท่าตรง คำบอก แถว - ตรง การปฏิบัติ ยืนให้ส้นเท้าชิดกันและอยู่ในแนวเดียวกัน ปลายเท้าแบะออกข้างละเท่าๆกัน ห่างกันประมาณ 1 คืบ ( ทำมุม 45 องศา ) เข่าเหยียดตึงและบีบเข้าหากัน ลำตัวยืดตรง อกผายไหล่เสมอกัน แขนทั้งสองห้อยอยู่ข้างลำตัวและเหยียดตรง พลิกศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ตึงนิ้วมือเหยียดตรงและชิดกัน นิ้วกลางติดขาตรงกึ่งกลาง ประมาณแนวตะเข็บกางเกง เปิดฝ่ามือออกเล็กน้อย ลำคอยืดตรงไม่ยื่นคาง ตาแลตรงไปข้างหน้า ระดับน้ำหนักตัวลง 2 ข้างเท่าๆกันและนิ่ง2. ท่าพัก ( พักตามปรกติ ) คำบอก พัก การปฏิบัติ หย่อนเข่าขวาก่อน ต่อไปจึงหย่อนและเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย และ เปลี่ยนเข่าพักได้ตามสมควร แต่เท้าทั้งสองคงอยู่กับที่ และเมื่อได้ยินคำว่า แถว ให้ยืดตัวขึ้นและจัดทุกทุกส่วนของร่างกายอยู่ในท่าตรง นอกจากเข่าขวา ครั้นเมื่อได้ยินคำบอกว่า ตรง ให้กระตุกเข่าขวาโดยเร็วและแข็งแรง กลับไปอยู่ลักษณะท่าตรง( พักตามระเบียบ ) คำบอก ตามระเบียบ - พัก การปฏิบัติ แยกเท้าซ้ายออกไปทางซ้ายประมาณ 30 ซ.ม. ( ประมาณครึ่งก้าวของก้าวปกติ )อย่างแข็งแรงและองอาจ พร้อมกับจับมือไขว้หลัง ให้หลังมือเข้าหาตัว มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือขวาจับนิ้วหัวแม่มือซ้าย หลังมือซ้ายแนบติดลำตัวในแนวกึ่งกลางหลังและอยู่ใต้เข็มขัดเล็กน้อย ขาทั้งสองตึงน้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้งสองเท่าๆกันและนิ่งเมื่อได้ยินคำว่า แถวตรง ให้ชักเท้าซ้ายชิดเท้าขวาอย่างแข็งแรงพร้อมให้มือทั้งสองกลับไปอยู่ท่าตรงตามเดิม( พักตามสบาย ) คำบอก ตามสบาย - พัก การปฏิบัติ หย่อนเข่าขวาก่อนเช่นเดียวกับ พัก ต่อไปจึงเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสบายและพูดจากันได้ แต่เท้าข้างหนึ่งต้องอยู่กับที่ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งก็นั่งไม่ได้เมื่อได้ยินคำว่า แถว - ตรง ให้กระตุกเข่าขวาโดยเร็วและแข็งแรง กลับไปอยู่ลักษณะท่าตรง( พักนอกแถว ) คำบอก พักแถว การปฏิบัติ ต่างคนต่างแยกจากแถวทันที แต่ต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น และไม่ทำเสียงอึกทึก เมื่อได้ยินคำบอกว่า แถว - ตรง ให้รีบกลับมาเข้าแถว ตรง ที่เดินโดยเร็ว ในรูปแถวเดิม และเมื่อจัดแถวเรียบร้อยแล้วให้อยู่ในท่าตรงจนกว่าจะมีคำบอกสั่งต่อไป 3. ท่าเคารพ คำบอก วันทยหัตถ์ และ มือลง การปฏิบัติ ยกมือขวาขึ้นโดยเร็วและแข็งแรง จัดนิ้วมืออย่างเดียวกับท่ารหัสของลูกเสือ ให้ปลายนิ้วชี้แตะที่ปลายคิ้วขวา ( แนวหางตาขวา ) มือเหยียดตามแนวแขนขวาท่อนล่าง นิ้วเหยียดตรงและเรียงชิดกัน ข้อมือไม่หัก เปิดฝ่ามือขึ้นประมาณ 30 องศา แขนขวาท่อนบนยื่นไปทางข้าง อยู่ประมาณแนวไหล่ เมื่ออยู่ในที่แคบให้ลดข้อสอบลงได้ตามความเหมาะสม ร่างกายส่วนอื่นต้องไม่เสียลักษณะท่าตรง ( ปรกติท่าวันทยหัตถ์ จะสั่งต่อเนื่องจากท่าตรง )คำบอก มือลง ให้ลูกเสือ - เนตรนารี เอามือลงมาแนบข้างตัวเหมือนท่าตรงปกติคำบอก ทางขวา , ทางซ้าย , ตรงหน้า - วันทยหัตถ์ การปฏิบัติ สะบัดหน้าไปยังผู้รับการเคารพ พร้อมกับยกมือทำวันทยหัตถ์ ก่อนถึงผู้รับการเคารพ 3 ก้าว ตามองจับผู้รับการเคารพและหันหน้าตามจนผู้รับการเคารพผ่านพ้นไปแล้ว 2 ก้าวให้สบัดหน้ากลับพร้อมกับลดมือลงเอง ถ้าผู้รับการเคารพอยู่ตรงหน้าก็ปฏิบัติโดยไม่ต้องสบัดหน้า4. ท่าหันอยู่กับที่ ( ขวาหัน ) คำบอก ขวา - หัน การปฏิบัติ ทำเป็น 2 จังหวะ คือจังหวะ 1 เปิดปลายเท้า และยกส้นเท้าซ้ายแล้วให้หันตัวในทันใด 90 องศาไปทางขวา หมุนเท้าทั้งสองไปโดยให้ส้นเท้า และปลายเท้าซึ่งเป็นหลักนั้นติดอยู่กับพื้น น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา ขาซ้ายเหยียดตึง บิดส้นเท้าซ้ายออกข้างนอก จังหวะ 2 ชิดเท้า5. ท่าเดิน ( เดินตามปกติ ) คำบอก หน้า - เดินการปฏิบัติ โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้า พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายออกเดินก่อน ขาเหยียดตึงปลายเท้างุ้ม ส้นเท้าสูงประมาณ 1 คืบ เมี่อจะวางเท้าและก้าวเท้าต่อไป ให้โน้มน้ำหนักตัวไปข้างหน้าตบเต็มฝ่าเท้าอย่างแข็งแรง ทรงตัวและศีรษะอยู่ในท่าตรง แกว่งแขนตามธรรมดาเฉียงไปข้างหน้าและข้างหลังพองาม เมื่อแกว่งแขนไปข้างหน้าข้อศอกงอเล็กน้อย เมื่อแกว่งแขนไปข้างหลังให้แขนเหยียดตรงตามธรรมชาติหันหลังมือออกนอกตัวแบมือให้นิ้วมือเรียงชิดติดกันความยาวของก้าว 40 - 60 เซ็นติเมตร ( นับจากส้นเท้าถึงส้นเท้า ) รักษาความยาวของก้าวให้คงที่ อัตราความเร็วในการเดินนาทีละ 90 - 100 ก้าว( เดินตามสบาย ) คำบอก เดินตามสบาย การปฏิบัติ เปลี่ยนจากเดินตามปกติเป็นเดินตามสบาย ระยะก้าวเช่นเดียวกับการเดินตามปกติอัตราความเร็วในการเดินนาทีละ 120 - 150 แต่ไม่ต้องรักษาท่าทางให้เคร่งครัด ถ้าเดินทางเป็นหน่วยก็ไม่ต้องเดินพร้อมเท้า ลูกเสือ - เนตรนารี อาจจะพูดกันได้เว้นแต่มีคำสั่งห้ามถ้าจะเปลี่ยนให้เดินพร้อมกัน และให้กลับมาอยู่ในท่าเดินตามปกติจะใช้คำบอกว่า เดินเข้าระเบียบ หรือจะบอกแถวหยุดเสียก่อนแล้วจึงบอกเดินทางใหม่ก็ได้ จากท่าเดินตามสบายเมื่อจะบอกแถวหยุด จะต้องบอกให้ลูกเสือเดินเข้าระเบียบเสียก่อนเสมอ( เปลี่ยนเท้า ) คำบอก เปลี่ยนเท้า การปฏิบัติ ให้ก้าวเท้าไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว ยั้งตัวพร้อมกับก้าวเท้าหลังให้ปลายเท้าหลังชิดส้นเท้าหน้า และก้าวเท้าออกเดินต่อไป( เดินครึ่งก้าว ) คำบอก ครึ่งก้าว - เดิน การปฏิบัติ ก้าวเท้าเดินเช่นเดียวกับการเดินตามธรรมดา แต่ลดระยะก้าวลงเหลือเพียงครึ่งก้าวการเดินตามปกติ จังหวะก้าวตามจังหวะของท่าเดินครั้งนั้น( ซอยเท้า ) คำบอก ซอยเท้า - ทำ การปฏิบัติ เมื่อหยุดอยู่กับที่ ถ้าๆได้ยินคำบอกว่า ซอยเท้า - ทำ ให้ยกเท้าขึ้นลงสลับกันอยู่กับที่ตามจังหวะการเดินในครั้งนั้น โดยยกเท้าซ้ายขึ้นก่อนเท้าที่ยกขึ้นนั้นให้พื้นรองเท้าสูงจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ ลักษณะมือและการแกว่งแขนคงเป็นไปตามท่าเดินครั้งนั้นถ้ากำลังเดินถ้าได้ยินคำว่า ซอยเท้า - ทำ ไม่ว่าเท้าใดจะตกถึงพื้นดินก็ตามให้เดินต่อไปอีก 1 ก้าว แล้วก้าวเท้าหลังให้ส้นเท้าหลังเสมอแนวเดียวกับส้นเท้าหน้า และยกเท้าเดิมนั้นขึ้นก่อนถ้าจะเดินต่อให้ใช้คำบอก หน้า - เดิน เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นให้ซอยเท้าขวาอยู่กับที่แล้วก้าวเท้าซ้ายออกเดินต่อไป หรือจะหยุด ใช้คำบอกว่า แถว - หยุด เช่นเดียวกับท่าหยุดในเวลาเดิน6. ท่าหยุด คำบอก แถว - หยุด การปฏิบัติ ในขณะที่เดินตามปกติ เมื่อได้ยินคำบอกว่า แถว - หยุด เท้าใดตกถึงพื้นก็ตาม ให้ปฏิบัติ 2 จังหวะ คือ จังหวะ 1 ก้าวเท้าต่อไปอีก 1 ก้าวจังหวะ 2 ชักเท้าหลังไปชิดเท้าหน้าในลักษณะท่าตรงอย่างแข็งแรงท่าก้าวทางข้าง คำบอก ก้าวทางขวา ( ซ้าย ) - ทำ การปฏิบัติ ยกส้นเท้าทั้งสอง แล้วก้าวเท้าขวา(ซ้าย) ไปทางขวา(ซ้าย) 30 ซ.ม. หรือประมาณเกือบครึ่งก้าวปกติ แล้วก้าวเท้าซ้าย(ขวา)ชิดอย่างแข็งแรง ระหว่างใช้เท้าเคลื่อนที่เข่าทั้งสองต้องตึง ส้นเท้ายกและและก้าวทางข้างต่อไปในจังหวะเดินตามปกติการสั่งให้แถวหยุด คำบอก แถว - หยุด เมื่อได้ยินแล้วให้ก้าวทางข้างอีก 1 ก้าวแล้วชิดเท้าหยุด7. ท่าวิ่ง คำบอก วิ่ง.หน้า - วิ่ง การปฏิบัติ ออกวิ่งด้วยเท้าซ้ายก่อน วางปลายเท้าลงบนพื้นงอเข่าเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้าขาหลังไม่ต้องเหยียดตึง ปลายเท้ายกสูงจากพื้นพอสมควรพร้อมกันนั้นยกมือขึ้นเสมอราวนม กำมือและหันฝ่ามือเข้าหาตัวยืดอกและศีรษะตั้งตรง ขณะวิ่งแกว่งแขนที่งอตามจังหวะก้าวได้ พอสมควร ความยาวของก้าว 50 - 60 ซ.ม. รักษาความยาวของก้าว ให้คงที่อัตราความเร็วในการวิ่ง 150 - 160 ก้าวคำบอก แถว - หยุด การปฏิบัติ เมื่อสิ้นคำบอก โดยเท้าใดตกถึงพื้นก็ตาม ให้คงวิ่งด้วยอาการยั้งตังต่อไปอีก 3 ก้าวและทำท่าหยุด เช่นเดียวกับการหยุดในเวลาเดินคำบอก เดิน - ทำ การปฏิบัติ เมื่อสิ้นคำบอกเท้าใดก็ตาม ให้คงวิ่งด้วยอาการยั้งตัวต่อไปอีก 3 ก้าว แล้วทำท่าเดินตามปกติ 8. การนับ คำบอก นับ การปฏิบัติ ลูกเสือคนที่อยู่หัวแถว สะบัดหน้าไปทางซ้ายพร้อมนับ หนึ่ง แล้วสบัดหน้ากลับมาอยู่ในท่าตรงโดยเร็ว ลูกเสือ - เนตรนารี คนอื่นๆนับเรียงไปตามลำดับเช่นเดียวกับคนหัวแถว เว้นคนท้ายแถวให้สบัดหน้ามาทางขวา9. ท่าถอดหมวก คำบอก ถอดหมวก การปฏิบัติ คำบอก ถอดหมวก ก. แบมือซ้ายและงอศอกจนแขนท่อนล่างได้ฉากกับแขนท่อนบน นิ้วหัวแม่มือตั้งขึ้นข้างบนพร้อมกับใช้มือขวา จับที่หมวกด้านขวา ( หมวกทรงอ่อน ) ข. ถอดหมวกออกจากศีรษะ วางครอบหัวแม่มือซ้าย ให้หน้าหมวกหันไปทางขวาขอบหมวกด้านนอกอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ค. ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงพร้อมกับมือซ้าย จับหมวกด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วอื่นทั้งสี่การปฏิบัติ สวมหมวก คำบอก สวมหมวก ก. ใช้มือขวาจับหมวกที่อยู่ในมือซ้าย เช่นเดียวกับการถอดหมวกข. ยกหมวกขึ้นสวมศีรษะ มือซ้ายช่วยจัดหมวกค. ลดมือทั้งสองลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรงหมายเหตุ ท่าถอดหมวกใช้ในโอกาส1. เกี่ยวกับพิธีสงฆ์ทางศาสนา เช่น พิธีสวนสนามที่มีการประพรมน้ำพระพุทธมนต์2. การหัดในขั้นแรก ควรกระทำเป็นตอนๆในการฝึกหัด3. ลูกเสือ - เนตรนารี ถือไม้ง่าม ก่อนทำท่าถอดหมวกและสวมหมวก ให้นำอาวุธมาไว้ระหว่างปลายเท้าทั้งสอง แล้วพิงท่อนบนไว้กับแขนซ้าย ครั้นแล้วจึงปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆต่อไป และเมื่อถอดหรือสวมหมวกเรียบร้อยแล้ว จึงนำไม้พลองหรือไม้ง่ามไปอยู่ในท่าเรียบอาวุธตามเดิม10. การถวายราชสดุดี คำบอก ถอดหมวก , นั่ง การปฏิบัติ เมื่อสั่ง ถอดหมวก เว้นระยะไว้พอสมควร เมื่อทุกคนถอดหมวกเรียบร้อยแล้วให้สั่ง นั่ง เมื่อลูกเสือ - เนตรนารี ได้ยินคำสั่งว่า นั่ง ให้ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าขวาลงตั้งเข่าซ้าย นั่งลงบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำวางลงบนเข่าขวามือซ้ายที่ถือหมวกวางพาดบนเข่าซ้าย และตั้งฉากกับเข่าซ้ายเมื่อร้องเพลงราชสดุดี ให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้เงยหน้าตามเดิมเมื่อเพลงจบแล้วสั่งว่า ลุก ให้ลูกเสือ - เนตรนารี ลุกขึ้น โดยดึงเท้าซ้ายที่ก้าวออกไปกลับมาชิดเท้าขวาและเมื่อสั่ง สวมหมวก ให้ลูกเสือเนตรนารี สวมหมวกโดยเร็ว แล้วอยู่ในท่าตรงหมายเหตุ ในกรณีที่ลูกเสือ - เนตรนารี มีอาวุธ ให้ถอดหมวกในท่ามีอาวุธเสียก่อนถือด้วยมือซ้ายแล้วจึงนำอาวุธวางไว้ตามยาวด้วยมือขวา แล้วก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าวคุกเข่าขวาลงพื้น มือซ้ายแบมือจับหมวกแล้วหักข้อศอกเข้าหาตัว มือขวาคงแบคว่ำลงวางบนเข่าตามปกติ11. การถอดหมวกเพื่อสวดมนต์ และสงบนิ่ง ก. การถอดหมวก ( ทรงอ่อน ) ใช้มือขวาจับที่หมวกด้านขวาแล้วถอดหมวกพร้อมกับยกมือซ้ายขึ้นมาประกบกับมือขวาในท่าพนมมือ ให้ด้านในของหมวกหันไปทางซ้าย หน้าหมวกหันเข้าหาตัวให้หมวกอยู่ระหว่างฝ่ามือทั้งสองและหนีบหมวกไว้ 12. ท่าหมอบ คำบอก หมอบ การปฏิบัติ ก. ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้งสอง แขนทั้งสองในขณะนี้คงอยู่ที่เดิมข. ทรุดตัวลงคุกเข่าขวา และเข่าซ้ายลงตามลำดับลงจดพื้น พร้อมกับก้มตัวลงไปข้างหน้าและเหยียดแขนทั้งสอง ใช้มือยันพื้นเพื่อรับน้ำหนักตัว แล้วเหยียดขาขวาตึง เงยหน้า ตามองตรงไปข้างหน้าค. เหยียดเท้าซ้ายให้ส้นเท้าชิดกัน ลดตัวลงนอนราบกับพื้น งอแขน แล้วใช้นิ้วมือขวาทับนิ้วมือซ้าย (ถึงแค่โคนนิ้ว) ฝ่ามือทั้งสองคว่ำลงกับพื้น แนวกึ่งกลางระหว่างมือทั้งสองอยู่ประมาณหน้าผาก ( เวลาก้ม ) กางศอกทั้งสองออกเต็มที่ ทำศีรษะให้ต่ำและเงยหน้าท่าลุก คำบอก ลุก การปฏิบัติ ก. ชักมือทั้งสองเข้าหาตัว พร้อมกับยันพื้นยกตัวขึ้น แล้วชักเท้าขวาคุกเข่าข. คุกเข่าซ้าย แล้วยกตัวขึ้นยืนโดยเร็ว แล้วนำมือทั้งสองมาไว้ข้างขาค. ชักเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายต่อไปอยู่ในลักษณะท่าตรงการฝึกท่ามีอาวุธ1. ท่าตรง และ ท่าพัก คำบอก กอง - ตรง หรือ พัก ท่าตรง หรือท่าพักในเวลาถือไม้ง่าม เหมือนกับท่ามือเปล่า ไม้ง่ามอยู่ในท่าเรียบอาวุธไม้ง่ามในท่าเรียบอาวุธ คือ ลูกเสือ - เนตรนารี อยู่ในท่าตรง ถือไม้พลองหรือไม้ง่ามด้วยมือขวา ต้นไม้ง่ามอยู่ระหว่างนิ้วก้อยเท้าขวาและชิดเท้าขวา ไม้ง่ามอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ นิ้วหัวแม่มือจับไม้ง่ามชิดขา นิ้วอื่นอีก 4 นิ้ว จับไม้ง่ามเฉียงลงไปเบื้องล่างนิ้วเรียงชิดกัน ปลายไม้ง่ามอยู่ในร่องไหล่ขวา ลำไม้ง่ามตั้งตรงแนบตัวท่าพักตามระเบียบ คำบอก ตามระเบียบ - พัก เหมือนกับท่ามือเปล่า มือขวาถือไม้ง่ามให้เลื่อนขึ้นมาเสมอเอว แล้วยื่นไม้ง่ามไปเฉียงลงไปข้างขวาประมาณ 45 องศา มือซ้ายไพล่หลัง โดยเรียงมือตามธรรมชาติ คือ นิ้วเรียงติดกัน2. ท่าวันทยาวุธ - เรียบอาวุธ คำบอก วันทยา - วุธ ท่าวันทยาวุธเป็นท่าทำความเคารพ ใช้คำบอกว่า วันทยา - วุธ เมื่อได้รับคำบอกแล้วลูกเสือ - เนตรนารี ทำจังหวะเดียวโดยยกแขนซ้ายขึ้นมาเสมอแนวไหล่ ศอกงอไปข้างหน้าให้ตั้งฉากกับลำตัว ฝ่ามือแบคว่ำ รวบนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วก้อยจดกัน คงเหลือนิ้วชี้ , นิ้วกลาง และนิ้วนางเหยียดตรงและชิดกัน ให้ข้างปลายนิ้วชี้แตะไม้ง่ามในร่องไหล่ขวาคำบอก เรียบ - อาวุธ ใช้บอกเมื่อเลิก คำบอก วันทยา - วุธ โดยให้ลูกเสือ - เนตรนารี ลดแขนซ้ายลงมาอยู่ที่เดิมโดยเร็ว ถ้าผู้รับการเคารพมาทางขวา( ซ้าย ) หรือหน้าตรง จะกล่าวโดยบอกที่มาของทิศทางเสียก่อน เช่น ( ขวา,ซ้าย , หน้าตรง ) ระวัง - วันทยา - วุธ ให้ลูกเสือทำวันทยาวุธพร้อมหันหน้าไปยังทิศของผู้รับการเคารพ ตาแลจับผู้รับการเคารพ หันศีรษะตามจนผู้รับการเคารพผ่านไปประมาณ 2 ก้าว จึงหันกลับมาอยู่ท่าตรง ในท่าวันทยาวุธอยู่ เมื่อผู้รับการเคารพผ่านพ้นไปแล้ว ผู้ควบคุมบอกเลิกทำความเคารพ โดยใช้คำบอก เรียบ - อาวุธ 3. ท่าแบกอาวุธ - เรียบอาวุธ คำบอก แบก - อาวุธ เมื่อลูกเสือ - เนตรนารี ได้รับคำบอก ลูกเสือ - เนตรนารี จะทำ 2 จังหวะ คือจังหวะที่ 1 ยกไม้ง่ามด้วยมือขวาผ่านหน้าเฉียดลำตัวไปทางซ้าย ให้ต้นไม้ง่ามอยู่ในอุ้งมือซ้าย ลำไม้ง่ามตั้งอยู่ตรงร่องไหล่ซ้าย มือขวาคงจับไม้ง่ามอยู่ที่เดิม ศอกงอไปข้างหน้าแนวเดียวกับไหล่จังหวะที่ 2 ดันไม้ง่ามด้วยมือซ้ายเข้าร่องไหล่ซ้ายพร้อมกับส่งไม้ง่ามเข้าร่องไหล่ซ้ายแขนซ้ายหักศอกประมาณ 100 องศากับลำตัว แขนซ้ายท่อนบนชิดลำตัว ขณะเดียวกันลดมือขวาลงอยู่ในท่าตรงเหมือนเดิมข้อควรระวัง การทำจังหวะ 2 ลูกเสือ - เนตรนารี ไม่ควรหลบศีรษะควรอยู่ท่าตรงตลอดและขณะแบกไม้ง่ามอยู่นั้นไม่ควรคุยกัน , ไม่ควรหันซ้ายแลขวา จะทำให้ไม้ง่ามเฉไป - มา คำบอก แบก - อาวุธ เมื่อลูกเสือ - เนตรนารี ได้รับคำบอก ให้ลูกเสือ - เนตรนารี ทำเป็น 3 จังหวะ ดังนี้จังหวะที่ 1 ยกมือขวาขึ้นจับไม้ง่าม ศอกงอไปข้างหน้าแนวเดียวกับไหล่พร้อมกับเหยียดแขนซ้าย โดยลดไม้ง่ามลงชิดกับลำตัวจังหวะที่ 2 นำไม้ง่ามด้วยมือขวามาไว้ร่องไหล่ขวายืดแขนขวาลงสุด และพร้อมกันนี้ให้ใช้มือซ้ายรีบประคองไม้ง่ามในระดับไหล่ โดยหักข้อศอกเข้าหาตัวท่อนแขนขนานกับพื้นจังหวะที่ 3 มือขวาปล่อยไม้ง่ามหลวมๆลงพื้นโดยโคนไม้ง่ามอยู่ที่ปลายนิ้วก้อยของเท้าด้านขวา ให้ไม้ง่ามอยู่ในร่องไหล่ขวา ลดแขนซ้ายลงในท่าตรงตามเดิม4. ท่าถอดหมวก - สวมหมวก คำบอก ถอดหมวก เมื่อลูกเสือ - เนตรนารี ได้รับคำบอก ลูกเสือ - เนตรนารี จะทำจังหวะเดียว คือนำไม้ง่ามที่อยู่ในท่าตรง มาไว้ตรงหน้าให้โคนไม้ง่ามอยู่ระหว่างปลายเท้าทั้งสอง เอียงไม้ง่ามไปไว้ด้านซ้ายโดยแขนซ้ายยกขึ้นมารับไม้ง่ามด้วยข้อศอก ( พับใน ) ฝ่ามือแบหงาย ขณะเดียวกันใช้มือขวาจับที่ขอบหมวก ( ทรงอ่อน )จากศีรษะมาวางที่ฝ่ามือซ้าย หน้าหมวกจะหันไปทางด้านขวานิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านในหมวกและนิ้วทั้งสี่เหยียดตรง คำบอก " ถอดหมวก , สวมหมวก "เมื่อลูกเสือ - เนตรนารี ได้รับคำบอก ลูกเสือ - เนตรนารี จะใช้มือขวานำหมวกจากมือซ้ายขึ้นสวมโดยใช้มือซ้ายช่วยด้วย ( ไม้ง่ามอยู่ในข้อศอกเหมือนเดิม ) และไม้ง่ามกลับมาอยู่ในร่องขวาในลักษณะท่าตรงเหมือนเดิม5. ท่าหัน ซ้าย - ขวา - กลับหลังหัน และการเคลื่อนที่ขณะมีอาวุธ คำบอก ซ้าย ( ขวา , กลับหลัง ) ในการปฏิบัติดังกล่าวปฏิบัติได้ทั้งขณะแบกอาวุธ หรือไม่แบกอาวุธก็ได้ แต่ต้องอยู่ในท่าตรงทุกครั้ง การใช้คำบอก ซ้าย , ขวา , กลับหลังหัน ขณะไม่แบกอาวุธผู้กำกับฯ ต้องบอกให้ลูกเสือ - เนตรนารี อยู่ในท่าตรงเสียก่อนและได้รับคำบอกแล้ว ปฏิบัติโดยอยู่ในท่าตรงแล้วยกไม้ง่ามขึ้นจากพื้นดินเล็กน้อยในท่าแนบลำตัวเช่นเดิมแล้วหันตามคำบอก ( เหมือนการปฏิบัติไม่มี-อาวุธ ) เมื่อทำเสร็จให้ทิ้งโคนไม้ง่ามลงพื้นเช่นเดิมการใช้คำบอก ซ้าย , ขวา , กลับหลังหัน ขณะมีอาวุธ ผู้กำกับฯ ต้องบอกตรงและบอกแบกอาวุธ จึงทำการบอก ซ้าย , ขวา , กลับหลังหัน การใช้คำบอกการเคลื่อนที่ขณะมีอาวุธ การใช้คำบอกในการเคลื่อนที่เหมือนไม่มีอาวุธเพียงแต่บอกตรงแล้วบอก แบกอาวุธ หรือไม่แบกอาวุธให้บอกคอนอาวุธ คือ การยกไม้ง่ามขึ้นมาด้วยมือขวาระดับเข็มขัดตนเอง แล้วเอียงไม้ง่าม 45 องศากับลำตัวตนเองแล้วบอกการเคลื่อนที่การเข้าแถวในรูปแบบสากล1. หน้ากระดานแถวเดี่ยว ( หน้ากระดานเรียง 1 )ผู้เรียก เหยียดแขนทั้งสองออกไปทางข้างเสมอไหล่ มือแบ นิ้วทั้งห้าชิดกัน หันฝ่ามือไปข้างหน้าการเข้าแถว ให้เข้าแถวหน้ากระดานโดยเรียงแถวเดียวข้างหน้าผู้เรียก หมู่ที่ 1 อยู่ซ้ายมือผู้เรียก แล้ว หมู่หมู่อื่นๆต่อไปตามลำดับ จนถึงหมู่สุดท้าย และหมู่ที่อยู่ตรงกลางต้องตรงกับผู้เรียก ห่างจากผู้เรีบกประมาณ 6 ก้าวการจัดแถว ระยะเคียงระหว่างบุคคลยกมือซ้ายขึ้นเท้าสะโพก ให้ฝ่ามือพักอยู่บนสะโพก (แนวเข็มขัด)นิ้วเหยียดชิดกันและชี้ลงพื้นนิ้วกลางอยู่อยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง ศอกอยู่เสมอแนวลำตัว การจัดแถวใช้แขนขวาจดปลายศอกซ้ายไม่เว้นระยะเคียงระหว่างหมู่ ใบหน้าทุกคนสะบัดจัดแถวไปทางขวา ยกเว้นคนสุดท้ายไม่ต้องยกมือซ้ายจัดแถวและสบัดหน้า ผู้เรียกแถว ดการตรวจแถว แล้วสั่ง นิ่ง ลูกเสือ - เนตรนารี ทุกคนลดมือลงพร้อมกับสะบัดหน้ามาอยู่ในท่าตรง2. แถวตอนเรียง 1 ( หลายหมู่เรียกว่าแถวตอนหมู่ )